วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


หัวข้อที่1 ทำไมคนไทยในยุคปัญจุบันถึงติดสารเสพติดกันเป็นจำนวนมาก

ความหมายของสารเสพติด สารเสพติดคือยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

ประวัติของยาเสพติด

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาสงบประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สำสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เกียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาร์บิทุเรท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็ฯที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ.1955 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ ๑ ระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide) ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน
ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ.1970 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmannเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.1953 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วนด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในอเมริกา[2]

การเข้ามาภายในประเทศไทย[แก้]

เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษผู้เสพติดเช่นกัน ระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองอเมริกา ค.ศ. 1861-1865 เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน

สาเหตุที่ทำให้คนไทยติดสารเสพติด



สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพมีด้วยกันหลายสาเหตุคือ

1. เพื่อหนีความทุกข์ใจ เด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาในครอบครัว ขาดความรักความอบอุ่น ครอบครัวแตกแยก หรือทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ ตลอดจนมีปัญหาในด้านการเรียน ปัญหา ความรัก จะส่งผลให้เด็กวัยรุ่นหาทางออกโดยการใช้ยาเสพติด เพื่อระงับความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น

2. ความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง บางคนลองเสพตามเพื่อน เพราะกลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย ตลอดจนวัยรุ่นบางคนก็อาจลองเสพด้วยความคึกคะนอง อยากทดลองสิ่งใหม่ ๆ และคิดว่าตัวเองคงไม่ติดง่าย ๆ ซึ่งมักส่งผลให้วัยรุ่นติดสารเสพติดได้ในเวลาต่อมา

3. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนติดยาหรือเป็นแหล่งที่มีการขายยาเสพติด ซึ่งการที่วัยรุ่นอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ทำให้เห็นว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อวัยรุ่นถูกชักจูงให้ลองเสพยา ก็จะคล้อยตามได้ง่าย หรือบางคนอาจลองเสพยาเสพติดเองเพราะเกิดความสงสัยว่า ยาเสพติดจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานได้อย่างไร

4. ถูกหลอกลวงให้ติดยาเสพติด เนื่องจากสิ่งเสพติดในปัจจุบันมักมีมาในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น เป็นลูกกวาดหรือท็อฟฟี่ เป็นแคปซูล เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้วัยรุ่นอาจไม่ทราบว่า สิ่งที่ตนเสพเป็นสิ่งเสพติดชนิดร้ายแรง จึงทำให้ลองกินเข้าไปจนกลายเป็นคนติดยาได้

เมื่อคุณรู้แล้วว่าสาเหตุอะไรบ้างที่มีส่วนผลักดันให้วัยรุ่นติดสารเสพติด คุณและคนในครอบครัวจึงควรร่วมมือกันป้องกันไม่ให้ลูกหลานติดยา โดยคุณต้องให้ความรัก ความอบอุ่นให้ความเป็นกันเองกับลูกหลาน เพื่อเขาจะได้กล้าเข้ามาขอรับคำปรึกษายามที่เขาต้องเผชิญกับปัญหา ที่แก้ไม่ตก ตลอดจนคุณจะต้องทำความรู้จักกับเพื่อนของเขาด้วย เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าเพื่อนของเขาเป็นคนอย่างไร มีพฤติกรรมเป็นอย่างไร เพราะเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมักจะติดเพื่อน และชอบทำอะไรเลียนแบบเพื่อน

หากคุณสังเกตพบว่า ลูกวัยรุ่นของคุณเข้าข่ายเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด คุณควร ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน อย่าไปดุด่าลูก ค่อย ๆ พูดคุยกับลูกเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหา และหากคุณต้องการขอรับการปรึกษาเพิ่มเติม ลองโทรศัพท์มาคุยกับเราที่หมายเลข 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิง http://www.dmh.go.th/1667/1667view.asp?id=3312
     
สาเหตุของการติดสารเสพติด

 ปัญหาการติดสารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อชีวิตของคนที่ติดยา ครอบครัว และสังคม ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการติดสารเสพติดมีหลายประการ ซึ่งสาเหตุต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกันดังนี้

1.ความอ่อนไหวทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งรุนแรงมากน้อยแล้วแต่บุคคล

2.ติดเพราะถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ถูกบีบบังคับจากหมู่คณะ

3.สิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งในการชักจูงให้บุคคลใช้ยาเสพติด เช่น อยู่ในละแวกที่มีการค้ายาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่น

4.การแสดงค่านิยมที่ต้องการจะต่อต้านต่อคำสั่งสอน หรือห้ามปรามจากผู้ใหญ่

5.อาจเป็นเพียงความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากมีประสบการณ์

6.วัยรุ่นที่ด้อยโอกาสต้องการหนีจากสภาพของตนชั่วคราว การใช้ยานับเป็นการที่ทำให้ตนลืมเหตุการณ์นั้นได้ชั่วคราว

7.การใช้ยาเป็นกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายทางจิตใจ

8.การใช้ยาเพื่อลดความกระวนกระวาย ความทุกข์ ความโดดเดี่ยวเหมือนการถูกละทิ้งแต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเสพยาเสพติดด้วยสาเหตุใด ผลที่ตามมากับทุกคนนั้นไม่แตกต่างกัน คือ ชีวิตและอนาคตที่มืดมน สิ้นหวัง และอยู่กับปัญหาไปตลอดชีวิตหากประสบปัญหาสงสัยบุคคลในครอบครัว ชุมชน ติดยาเสพติด ปรึกษาสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิง  http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1126:2555-02-21-02-m-s&catid=239:all-content&Itemid=270

 สาเหตุที่วัยรุ่นติดยาเสพติด
1.  สาเหตุจากการถูกชักชวน วัยรุ่นส่วนใหญ่มีสัญชาตญาณต้องการอยู่ร่วมกัน ต้องการได้รับการยกย่อง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่คณะ ฉะนั้นถ้าเพื่อนฝูงชักชวนให้ลองย่อมขัดไม่ได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นเข้ากับเพื่อนไม่ได้ จึงทำให้วัยรุ่นต้องยอมใช้ยาเสพติดตามการชักชวนของเพื่อน
2.  สาเหตุจากอยากลอง ความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากรู้รสชาติ อยาก โดยคิดว่าคงไม่ติดง่ายๆ แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด เพราะยาเสพติดในปัจจุบัน เช่น เฮโรอีน ติดง่ายมาก เพียงเสพไม่กี่ครั้งก็ติดแล้ว

3.  สาเหตุจากความกดดันในครอบครัว มีส่วนผลักดันให้สมาชิกในครอบครัวหันไปใช้ยาเสพติดได้ ซึ่งความกดดันในครอบครัวมีแตกต่างกันไป เช่น

- พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวัน ลูกเกิดความรำคาญใจที่เห็นสภาพเช่นนั้น ทำให้เบื่อบ้าน จึงทำให้ใช้เวลาว่างที่มีไปคบเพื่อนนอกบ้านจนกว่าจะถึงเวลานอนจึงกลับบ้านและในที่สุดก็หันไปสู่ยาเสพติด
- พ่อแม่หย่าร้าง ต่างคนต่างมีภรรยาหรือสามีใหม่ ทำให้ขาดความสนใจในลูกเท่าที่ควร เด็กในวัยรุ่นส่วนใหญ่มีความกดดันสูง ประกอบกับความน้อยใจว่าพ่อแม่ไม่รัก รู้สึกว้าเหว่ จึงได้หันไปใช้ยาเสพติด
- พ่อแม่ที่ไม่เข้าใจลูก ทำให้หันไปใช้ยาเสพติดมิใช่ว่ามีเฉพาะวันรุ่นที่ยากจน หรืออยู่ในสถานกำพร้า ฯลฯ วันรุ่นที่มีพ่อแม่ร่ำรวยก็มีโอกาสติดยาเสพติดได้ เพราะความที่พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก คิดว่าหากต้องการอะไรพ่อแม่ก็หาให้ได้โดยใช้เงิน แต่ความจริงเด็กหรือวัยรุ่นก็มีจิตใจอยากร่วมกันรับรู้ในกิจกรรมของครอบครัว ต้องการให้พ่อแม่ยกย่องเมื่อทำกิจกรรมดี เช่น สอบไล่ได้ที่ดีๆ หรือได้รับคำชมเชยเมื่อช่วยเหลือผู้อื่น ย่อมต้องอยากเล่าให้พ่อแม่ฟังในเรื่องราวต่างๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อกลับมาถึงบ้านพ่อแม่มีภารกิจมาก ไม่มีเวลาให้ลูก หรือทำความดีก็ไม่เคยรู้ เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยๆ เด็กก็เสียใจ ในที่สุดก็กลายเป็นคนเงียบขรึม ว้าเหว่ และหันไปใช้ยาเสพติดได้
- พ่อแม่ที่แสดงออกในการรักลูกไม่เท่ากัน การเอาใจใส่ที่แสดงออกต่อลูกทุกคนควรเหมือนกันและพ่อแม่ที่ลูกหลายคนไม่ควรตั้งความหวังสูงนัก อยากให้ลูกเรียนเก่ง สอบได้ที่ 1 ทุกคนต้องการเช่นนี้ แต่ควรยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าการเรียนเก่งนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ประการ เช่น สติปัญญา ความเอาใจใส่ของเด็กเอง ฉะนั้น เมื่อมีลูก 2-3 คน อาจจะบางคนเรียนเก่ง ลูกคนที่เรียนไม่เก่งก็ไม่ควรได้รับการตำหนิจากพ่อแม่ เพราะสติปัญญาคนเราไม่เท่ากัน มีพ่อแม่บางคนพยายามชมเชยยกย่อง ลูกคนเรียนเก่งให้ลูกที่เรียนไม่เก่งฟังเสมอๆ
4.  สาเหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นโรคประสาท เป็นหืด ได้รับความทรมาณทางกายมาก ผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวเองมานานไม่หาย จึงหันเข้าหายาเสพติดจนติดยาในที่สุด
5.  สาเหตุจากความคะนอง บุคคลประเภทนี้มีความอยากลอง ซึ่งรู้แน่แก่ใจว่ายาเสพติดให้โทษไม่ดี แต่ด้วยความคะนองเพราะเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดงความเก่งกล้าอวดเพื่อน ขาดความยั้งคิด จึงชักชวนกันเสพจนติดในที่สุด

6.  สาเหตุจากความจำเป็นในอาชีพบางอย่าง เช่น ผู้ทำงานกลางคืน นักดนตรี คนขับรถเมล์ คนขับรถบรรทุก ผู้ทำงานในสถานประกอบการ ผู้มีอาชีพเหล่านี้ใช้ยาเสพติด โดยหวังผลให้สามารถประกอบการงานได้ เช่น บางคนใช้เพราะฤทธิ์ยาช่วยไม่ให้ง่วง บางคนใช้เพื่อย้อมใจให้เกิดความกล้า

7.  สาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจ คือ การไม่มีงานทำ หรือมีรายได้ไม่พอรายจ่าย รวมทั้งใช้จ่ายเงินเกินตัว แม้จะทราบว่ายาเสพติดผิดกฎหมาย แต่เพื่อความอยู่รอดของตนเองจึงยอมไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยขั้นแรกอาจเป็นเพียงคนช่วยส่งยาเสพติดแต่การอยู่ใกล้ชิดยาบ่อยๆ ในที่สุดเป็นผู้ส่งยาและติดยา บางคนแม้จะมีพอกินพอใช้ คิดอยากรวยทางลัดก็เป็นทางให้ไปสู่ยาเสพติดได้
8.  สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม มีผู้ติดยาเสพติดจำนวนไม่น้อย มีความตั้งใจที่จะพยายามเลิกเสพ โดยเข้ารับการบำบัดรักษาจากทั้งภาครัฐและเอกชน แต่เมื่อหายแล้วปรากฏว่าสังคมไม่ยอมรับ เช่น ในครอบครัวตนเองยังแสดงท่าทีดูถูกเหยียดหยามรังเกียจ หรือไปสมัครเข้าทำงานก็ถูกปฏิเสธ เนื่องจากมีประวัติเคยติดยาเสพติด คนเหล่านี้จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่รอด ดังนั้น เมื่อสังคมไม่ยอมรับจึงหันกลับไปอยู่ในสังคมยาเสพติดเช่นเดิม
9.  สาเหตุจากอยู่ในแหล่งที่มียาเสพติด สถานที่อยู่อาศัย ที่อยู่ใกล้แหล่งที่มีการมั่วสุมยาเสพติดและค้ายาเสพติดก็อาจเป็นสาเหตุให้ถูกชักจูงหรือล่อลวงให้ติดยาเสพติดได้ง่าย
10.  ขาดความรู้ในเรื่องยาและยาเสพติด คนบางคนทดลองใช้ยาเสพติดเพราะไม่รู้จักและไม่มีความรู้เรื่องยาเสพติด บางคนอาจเคยได้ยินโทษพิษภัยของยาเสพติด แต่ไม่รู้จักชื่อต่างๆ ที่ใช้เรียกอาจถูกหลอกให้ทดลองใช้และเกิดเสพติดขึ้นได้ เช่น คนส่วนใหญ่รู้ว่าเฮโรอีนเป็นยาเสพติดและไม่คิดจะลอง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าผงขาวคือเฮโรอีน เมื่อเพื่อนมาชักชวนว่าให้ลองเสพผงขาวแล้วจะเที่ยวผู้หญิงสนุก จึงได้ลองเสพโดยไม่ทราบว่ามันจะเป็นเฮโรอีน นอกจากนี้ถ้าคนเรามีความรู้เรื่องการใช้ยาบ้างก็จะไม่ใช้ยาที่ไม่มีฉลาก

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/liverthaizee/2008/11/17/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น